วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

File Server และTerminal

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย(File Server) หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ทรัพยากร (Resources) ต่างๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ น่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกคอมพิวเตอร์แม่ข่ายในระบบเครือข่ายระยะไกลที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่า ลูกข่ายหรือสถานีงาน



หน้าที่ของFile Server
ทำหน้าที่จัดเก็บไฟล์ โดยการจัดเก็บไฟล์จะทำเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์รวมศูนย์ เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลอยู่ที่เดียว เพราะควบคุม-บริหารง่าย การสำรองข้อมูล การ Restore ง่าย ข้อมูลดังกล่าว Shared ให้กับ Client ได้ โดยส่วนมากข้อมูลที่อยู่ใน File Server คือ โปรแกรมและข้อมูล (Personal Data File) โดยปกติแล้วเซิร์ฟเวอร์ไม่มีหน้าที่ต้องประมวลข้อมูลเหล่านี้ เป็นเพียงแหล่งเก็บข้อมูล ปัจจุบัน File Server ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงจัดเก็บไฟล์แบบ Local แล้ว แต่มีผู้ให้บริการพื้นที่ฟรีในฮาร์ดดิสก์หลายๆแห่งให้บริการพื้นที่ฟรีผ่านอินเตอร์เน็ตด้วย เช่น 100 MB 200 MB ซึ่งเหมาะสำหรับการเก็บไฟล์ที่ต้องการสำรองไว้ นอกจากนี้บางแห่งเสนอรูปแบบการให้บริการ จัดเก็บรูปภาพ เป็นอัลบั้มรูปภาพเลย การทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น File Server นั้น ในทางเทคนิคแล้วยังไม่เรียกว่าเป็น "Client/Server" เพราะไม่มีการแบ่งโหลดการทำงานระหว่างไคลเอ็นต์กับเซิร์ฟเวอร์ แต่หน้าที่ที่ File Server จะต้องจัดการคือ มี NOS (Network Operating System) ที่ดูแลการ "เข้าถึง" ไฟล์ ต้องมีกระบวน "Lock" ไว้ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการแก้ไขไฟล์ เช่น ขณะที่ผู้ใช้งานคนที่ 1 เปิด ไฟล์ A และกำลังแก้ไข (edit) อยู่ ผู้ใช้งานคนที่สองจะเปิดไฟล์ A เพื่อแก้ไขไม่ได้ (แต่เปิดเพื่ออ่าน Read Only ได้) แต่ถ้าหากข้อมูลนั้นเป็น Database แทนที่ไฟล์หรือฐานข้อมูลทั้งฐานข้อมูลจะถูก Lock กระบวนการ Lock ก็อาจจะเกิดเฉพาะ Record (Row) นี้เป็นหน้าที่ของ NOS และ Application ที่ใช้งาน


การทำงาน File Server Architecture
1. ผู้ใช้ระบบทำงานอยู่บน Application ที่เครื่อง Client
2. ผู้ใช้ร้องขอข้อมูล แก้ไข หรือต้องการลบข้อมูล ไปยังเครื่อง Server
3. เครื่อง Server ดึงข้อมูลออกมาจาก Database
4. ขณะอ่านข้อมูลจาก Database จะทำการ Lock Table ทั้ง Table ที่มีการ access ข้อมูล
5. ส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่อง Client
6. ผู้ใช้แก้ไขข้อมูลส่งกลับมายังเครื่อง Server
7. เครื่อง Server ส่งข้อมูลไป Update ใน Database
8. เมื่อ Update ข้อมูลเสร็จก็ปลดล๊อก Table


ข้อดีข้อเสียของระบบ File Server
File Server (Formula Lan)
1. ลงทุนต่ำ
2. ข้อมูลมีเสถียรภาพต่ำ
3. เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลปริมาณไม่มาก
4. การทำงานร่วมกับ Applicationเป็นลักษณะ File Sharing
5. ความปลอดภัยของข้อมูลมีน้อย
6. ความเร็วของ SERVER จะตกลงมาก เมื่อมีจำนวนลูกข่ายมากขึ้น
7. ข้อมูลมีโอกาสเสียในกรณี เครื่อง Hang หรือไฟดับขณะทำงานอยู่
8. จัดการการเข้าถึงข้อมูล Record เดียวกันได้แต่ไม่ดี
9. การเข้าถึงข้อมูลต้องใช้ Programming Tools
10. ต้องมีการ Reindex ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดระเบียบข้อมูลให้ระบบทำงานได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น
11. มี Tools ช่วยในการบริหารและจัดการข้อมูลน้อย
12. ไม่รองรับการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 ที่





Terminal คือ client หรือจุดที่ข้อมูล H.323 ถูกสร้างหรือขึ้น หรือสิ้นสุดการเดินทาง ซึ่งอาจจะเป็น PC หรือว่า เครื่องโทรศัพท์ที่สนับสนุน เครือข่าย IP ซึ่งอาจจะสนับสนุนสัญญาณวีดีโอด้วยก็ได้ Gateway คือ ใช้สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต่างชนิดกัน เพื่อทำการแปลงชนิดของข้อมูลให้เข้ากันได้กับเครือข่ายที่จะเชื่อมต่อTerminal คืออะไร โปรแกรมสำหรับช่วยในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องเข้าด้วยกัน สามารถรับส่งไฟล์ถึงกับได้อย่างง่าย ๆ โปรแกรมนี้จะมาพร้อมกับ Windows 98,ME ไม่จำเป็นต้องไปหาที่ไหนมา

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สื่อกลางในการส่งข้อมูล

ประเภทของสื่อกลางในการส่งข้อมูล

สื่อกลาง (Media) คือ ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนที่ทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ และจากผู้รับไปยังผู้ส่ง
มี 2 แบบ
สื่อแบบใช้สาย(Guided media)
สายคู่บิดเกลียว
สายโคแอกเชียล
สายใยแก้วนำแสง

สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)

เป็นสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว ใช้กัน
แพร่หลายในระบบโทรศัพท์ มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps และส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่บิดเกลียว มี 2 ประเภท คือ
สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair; UTP)
สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted Pair; STP)
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณ ภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด



สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)
มักเรียกสั้นๆ ว่าสายโคแอก ประกอบด้วยลวดทอง
แดงอยู่ตรงกลาง
หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น
แล้วหุ้มภายนอกอีกชิ้นหนึ่งด้วยฉนวน ใช้ในระบบโทรทัศน์ และวิทยุ
ข้อดี
มีประสิทธิภาพ และความต้านทานต่อการรบกวนสูง
สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่า สายส่งข้อมูลแบบ Twisted pair
สามารถส่งได้ทั้งเสียง สัญญาณวิดีโอ และข้อมูล
ข้อเสีย
ราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบ Twisted pair
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมีราคาสูง กว่าสายส่งข้อมูลแบบ Twisted pair
จำกัดจำนวนของการเชื่อมต่อ
ระยะทางจำกัด


สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optical Cable)

ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก
ซึ่งใยแก้วทั้งสองนี้จะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยที่ไม่ผ่านออกไปยังผิวด้านนอกของเส้นใยได้
ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งจำนวนมาก และในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 ไมล์
ข้อดี
ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับสภาพแวดล้อม เช่น
โรงพยาบาล สถานีโทรทัศน์
ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูล 2 แบบแรก
ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง มากกว่าสายส่งข้อมูลแบบอื่น ๆ
มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง สูงกว่า 2 แบบแรก




สื่อแบบไร้สาย (Unaided media)
คลื่นไมโครเวฟ, คลื่นวิทยุ
สัญญาณดาวเทียม,อินฟาเรด
Blue Tooth
Wi-fi , Wi-max


คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
การส่งคลื่นเป็นแบบเส้นสายตา (line of sight)
สามารถส่งได้ไกล 20-30 ไมล์ ถ้าต้องการส่งให้ไกลกว่าต้องมี
สถานีถ่ายทอดสัญญาณไมโครเวฟ (Microwave Relay Station)
ข้อดี
ไม่มีปัญหาเรื่องวางสายเคเบิล
นิยมใช้ในเครือข่ายไม่ไกลนัก
ราคาถูกกว่าเช่าสายใยแก้วของระบบโทรศัพท์
ข้อด้อย
การส่งสัญญาณถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสภาพภูมิอากาศ
ค่าติดตั้งเสาและจานส่งมีราคาแพง


ระบบดาวเทียม (Satellite system)

ดาวเทียมสื่อสารทำงานได้ผล ดาวเทียมสื่อสารต้องเสมือนหยุดอยู่กับที่เมื่อเทียบกับตำแหน่งบนโลก กล่าวคือดาวเทียมจะต้องหมุนเท่ากันกับโลกหมุนรอบตัวเองในระยะความสูงจากพื้นโลก 35,789 กิโลเมตร
เรียกว่า ดาวเทียมแบบวงโคจรสถิตย์
ดาวเทียมสองดวงใช้แถบความถี่เดียวกันอยู่ใกล้กันไม่ได้ คลื่นความถี่จะแทรกกัน จะต้องห่างกันมากกว่า 3-4 องศาซึ่งขึ้นกับย่านความถี่ในปัจจุบันได้มีการนำดาวเทียมแบบวงโคจรต่ำ (low earth orbiting satellite : LEOS) มาใช้งาน ดาวเทียมแบบนี้มีรัศมีวงโคจรเพียง 520-1,600 กิโลเมตรจากผิวโลก ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกรอบหนึ่งเพียง 90 – 100 นาที ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

การใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในปัจจุบัน
1. การแพร่ภาพโทรทัศน์ โดยการส่งสัญญาณแบบ Broadcasting
2. โทรศัพท์ทางไกล ใช้เชื่อมโยงระหว่างชุมสายโทรศัพท์แบบจุดต่อจุด ซึ่งราคาถูกกว่าการเช่าสายใยแก้วนำแสง
3. เครือข่ายธุรกิจส่วนบุคคล (Private Business Networks)
โดยใช้ระบบสถานีภาคพื้นดินขนาดเล็ก ที่เรียกว่า VSAT
(Very Small Aperture Terminal)
ข้อดี
ส่งสัญญาณไปทุกจุดของโลกได้
ค่าใช้จ่ายในการบริการไม่ขึ้นกับระยะทางที่ห่างจากสถานีบริการภาคพื้นดิน
ข้อเสีย
อาจถูกกระทบเพราะสภาพอากาศ
มีอัตราการหน่วงของข้อมูลจากเวลาจริง (Delay Time)
ค่าบริการสูง


แสงอินฟราเรด (Infrared)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คลื่นความถี่สั้น (Millimeter waves)
เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ในระหว่างแสงที่ตามองเห็น
ลำแสงอินฟราเรดเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสง
และสามารถสะท้อนแสงในวัสดุผิวเรียบได้เหมือนกับแสงทั่วไป
ใช้มากในการสื่อสารระยะใกล้ เช่น รีโมทคอนโทรลของเครื่องรับโทรทัศน์
ปัจจุบันถูกพัฒนาใช้ในการสื่อสารไร้สายสำหรับเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
ข้อดี
สร้างได้ง่าย ราคาถูก และมีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลดีกว่าคลื่นวิทยุ
ข้อเสีย
ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้



คลื่นวิทยุ (Radio wave)

เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแถบความถี่ตั้งแต่ 30 MHz - 1 GHz
ต่างกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่สามารถเดินทางได้รอบทิศทาง
ความถี่ของสัญญาณสูงดังนั้นจึงมี bandwidth กว้าง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง 100-400 Kbps และสามารถใช้ช่องสัญญาณหนึ่งสำหรับหลายสถานี
เมื่อมีการชนกันของสัญญาณข้อมูลจะใช้วิธี CSMA (Carrier SenseMultiple Access)
ระยะทางการส่งได้ไกล 30 กิโลเมตร ถ้ามีเครื่องทวนสัญญาณจะส่งได้ไกลถึง 500 กิโลเมตร
ข้อดี
สามารถส่งข้อมูลได้แบบไร้สายและสร้างเครือข่ายได้กว้างไกล การติดตั้งไม่ยุ่งยากเนื่องจากใช้อุปกรณ์น้อย
ข้อเสีย
ความปลอดภัยของข้อมูลมีน้อยจึงควรมีการเข้ารหัสข้อมูล และคลื่นวิทยุอาจถูกรบกวนได้ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสภาพภูมิอากาศต่าง ๆ
วิทยุเซลลูลาร์ (Cellular radio)
มีชื่อเรียกอีกอย่างอื่น ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ
เป็นการใช้คลื่นวิทยุในการรับ-ส่งเสียงสนทนาหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


Bluetooth

BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย






ไว-ไฟ (Wi-Fi) Wi-Fi หรือ Wireless Fidelity

คือ เทคโนโลยีการเชื่อมคอมพิวเตอร์หรือ PDA ต่อเข้ากับเครือข่าย LAN (Local Area Network) โดยการใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวส่งสัญญาณเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูล
ลักษณะของ wireless ไม่ใช่ wire line การเชื่อมต่อลักษณะนี้โดยมากในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยี Wireless LAN 802.11b ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 11 Mbps ซึ่งนับว่าสูงมาก สูงกว่าการต่ออินเตอร์เน็ทตามบ้านแบบเทียบกันไม่



ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)
ไว-แมกซ์ ย่อมาจาก Worldwide InterOperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย
ระดับบรอดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 โดยสามารถส่งข้อมูลกระจายสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังหลายจุดได้พร้อมๆกัน

ผู้ติดตาม